ผู้อำนวยการสถานศึกษา » เนื้อหา กฏหมาย สรุปสาระสำคัญรัฐธรรมนูญ 2560 เกี่ยวกับการศึกษา

เนื้อหา กฏหมาย สรุปสาระสำคัญรัฐธรรมนูญ 2560 เกี่ยวกับการศึกษา

2 สิงหาคม 2023
16881   0

สรุปสาระสำคัญรัฐธรรมนูญ 2560

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมมีบทความเนื้อหา กฎหมาย สรุปสาระสำคัญรัฐธรรมนูญ 2560 ผมจึงนำเพียงแค่เนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา อาจนำไปใช้สอบบรรจุแข่งขัน การปฎิบัติงานภายในองค์กรอย่างถูกต้อง

สรุปสาระสำคัญรัฐธรรมนูญ 2560
สรุปสาระสำคัญรัฐธรรมนูญ 2560

เราไปเริ่มต้นกันครับ รัฐ ธรรม นูญ ฉบับปัจจุบันที่ประชาชนคนไทยต้องปฏิบัติและนำไปใช้ ซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ยกร่าง รัฐบาลเป็นผู้ตราไว้ ณ วันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2560 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน (ประกาศ/บังคับใช้ 6 เมษายน พุทธศักราช 2560)

หมวด 1 บททั่วไป

มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดี่ยว จะแบ่งแยกมิได้

มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม

มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน

มาตรา 5 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับหรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ณทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้น ไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้

หมวด 2 พระมหากษัตริย์

มาตรา 7 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก

มาตรา 8 พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

มาตรา 9 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจทจะสถาปนาและถอดถอนฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์

มาตรา 10 พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรี คนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวง ที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

มาตรา 11 การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือ
ให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่นหรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่

หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ

มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหนึ่ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย

รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่างๆ รวมทั้งส่งเสริม ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษา ดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติซึ่งอย่างน้อย ต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ และการดำเนินการและตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย

การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ในการดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาตามวรรคสอง หรือให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามวรรคสาม รัฐต้องดำเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษา ตามความถนัดของตน

ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาและเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุน หรือใช้มาตรการหรือกลไกทางภาษีรวมทั้งการให้ผู้บริจาคทรัพย์สินเข้ากองทุนได้รับประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีด้วยทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องกำหนดให้การบริหารจัดการกองทุน เป็นอิสระและกำหนดให้มีการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว

หมวด 7 รัฐสภา

มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก จำนวนห้าร้อยคน ดังนี้
(1) สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวนสี่ร้อยคน
(2) สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง จำนวนหนึ่งร้อยคน

(แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 มีผลบังคับใช้ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2564)

มาตรา 107 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสองร้อยคน ซึ่งมาจากการเลือกกันเอง

องค์คณะที่สำคัญตามรัฐธรรมนูญ

ตำแหน่งผู้แต่งตั้งจำนวน(คน)ดำรงตำแหน่งวาะ(ปี)
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง97 ปี วาะเดียว
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ7 ปี วาะเดียว
คณะกรรมการการเลือกตั้งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคำแนะนำของวุฒิสภา77 ปี วาะเดียว
ผู้ตรวจการแผ่นดินพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคำแนะนำของวุฒิสภา37 ปี วาะเดียว
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคำแนะนำของวุฒิสภา97 ปี วาะเดียว
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคำแนะนำของวุฒิสภา77 ปี วาะเดียว
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคำแนะนำของวุฒิสภา77 ปี วาะเดียว

มาตรา 257 การปฏิรูปประเทศตามหมวดนี้ต้องดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
(1) ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนา ด้านจิตใจ
(2) สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ
(3) ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

มาตรา 258 ให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ดังต่อไปนี้

(จ.) ด้านการศึกษา
(1) ให้สามารถเริ่มดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา ตามมาตรา 54 วรรคสอง เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
(2) ให้ดำเนินการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 54 วรรคหก ให้แล้วเสร็จ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
(3) ให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลของ ผู้ประกอบวิชาชีพครู
(4) ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัด และปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยสอดคล้องกันทั้งในระดับชาติ และระดับพื้นที่

บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

คู่มือการดำเนินการได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
อํานาจหน้าที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
ว 19/2566 เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา 2566 ตำแหน่ง รอง ผอ.และ ผอ. สำหรับสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษ
โหลดฟรี แผ่นพับครูผู้ช่วย ไฟล์แผ่นพับแก้ไขได้ PowerPoint
แชร์ฟรี แนวข้อสอบครูผู้ช่วย เอก วิทยาศาสตร์ เพื่อครูวิทย์ by ครูตัวน้อย 2566
แจกเอกสารเนื้อหา แนวข้อสอบครูผู้ช่วย ภาค ก 2566 เกณฑ์ใหม่!!
เกณฑ์สอบครูผู้ช่วย 2566 สังกัด สพฐ. ประกาศแล้ววันนี้!!
ล่าสุด!! สรุปพรบการศึกษาแห่งชาติ 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ปัจจุบัน พร้อมข้อสอบ
แจ้งแล้ว!! อัตรา ว่าง ครูผู้ช่วย 2566 แต่ละ จังหวัด อัตราว่างเกษียณอายุราชการ 2565 จำนวน 16,956 อัตร...
สพฐ.ประกาศแล้ว!! นโยบายการรับนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2566