อํานาจหน้าที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
สวัสดีครับ วันนี้ครูไทยฟรีดอทคอม ของนำเนื้อหา อํานาจหน้าที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา แล้ว ย่อมาจาก มีกี่คน มีใครบ้าง? มาบอกเล่าให้ทุกท่านได้ศึกษาและทำความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่หลังจากที่มีการถ่ายโอนอำนาจงานบริหารบุคคลไปยัง ก.ศ.จ.แต่ละจังหวัด ให้กลับคืนอำนาจสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเช่นเดิม
อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา คือ
อ.ก.ค.ศ. ย่อมาจาก คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจําเขตพื้นที่การศึกษา…………..(ประจำสังกัดประถมหรือมัธยม เขตที่เท่าไรก็ตามนั้น) ความหมายก็คือ เป็นคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 (หมวด 1 มาตรา 27) และตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาของอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี ไม่เกิน 2 วาระ
อำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
มาตรา 23 ให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- พิจารณากำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งการกำหนดจำนวน และอัตราตำแหน่ง และเกลี่ยอัตรากำลังให้สอดคล้องกับนโยบาย การบริหารงานบุคคล ระบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
- พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
- ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
- พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
- ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ การปกป้องคุ้มครองระบบคุณธรรม การจัดสวัสดิการ และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
- กำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
- จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
- จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาเพื่อเสนอ ก.ค.ศ.
- พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาที่ไม่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของผู้บริหารของหน่วยงานการศึกษา
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ.มอบหมาย
มาตรา 21 ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา มีใครบ้าง?
มีจำนวนทั้งหมด 11 คนต่อ 1 คณะ ประกอบไปด้วย
- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ประธาน อ.ก.ค.ศ.
- ผู้แทน ก.ศ.จ. อนุกรรมการ
- นายอำเภอหรือผู้แทน อนุกรรมการ
- ผู้แทน ก.ค.ศ. อนุกรรมการ
- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคล อนุกรรมการ
- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย อนุกรรมการ
- ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาหรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานบุคคล อนุกรรมการ
- ผู้แทนข้าราชการครู อนุกรรมการ
- ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา อนุกรรมการ
- ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น อนุกรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา….เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น จำนวนไม่เกิน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติม ประกาศแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. ประจำเขตพื้นที่ ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566
คู่มือการดำเนินการได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
ผู้จัดทำและเรียบเรียง เว็บไซต์ครูไทยฟรีดอทคอม
และขอขอบคุณที่มา สำนักงาน ก.ค.ศ.
เชิญติดตามได้ที่ เพจครูไทยฟรีดอทคอม ข่าวสารความเคลื่อนไหววงการศึกษา ข่าวสารการศึกษา แจกสื่อการเรียนการสอน แผนการสอน หลักสูตร ตัวชี้วัด ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน วิจัย วิทยฐานะ การสอบบรรจุรับราชการ สอบบรรจุครู ข้อสอบ ใบงาน กิจกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมการเรียนรู้ สื่อมัลติมีเดียครูยุค IT บทความ เทคนิคการสอน ไฟล์งานต่างๆ