วิธีการสอนแบบสาธิต ภาค ค ครูผู้ช่วย 2564
สำหรับการสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไปทั่วประเทศ ที่มีผู้ผ่านในภาค ก และภาค ข น้อยมาก ซึ่งปีนี้การแข่งขันคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ. 2564 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้แก่เกณฑ์ในภาค ค ต้องทำการคือสอบสัมภาษณ์ และ วิธีการสอนแบบสาธิต ภาค ค ครูผู้ช่วย 2564 ซึ่งผู้ที่ผ่านในภาค ก และ ข ได้นำอุปกรณ์การเรียนการสอน มาสาธิตการสอนให้แก่คณะกรรมการได้ดูเองตามศักยภาพ
- วิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration Method)
การสอนโดยวิธีการสาธิต หมายถึง กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง พร้อมๆ กับการบอก อธิบาย เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการสังเกต แล้วให้ผู้เรียนได้ซักถาม อภิปรายและสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสังเกตดังกล่าว
- จุดมุ่งหมายของวิธีสอนโดยใช้การสาธิต
จุดมุ่งหมายของการสอนโดยใช้การสาธิต มีดังนี้
1. เพื่อกระตุ้นความสนใจในการเรียนของนักเรียน
2. เพื่อมุ่งช่วยให้ผู้เรียนทั้งชั้นได้เห็นการปฏิบัติจริงด้วยตาตนเอง ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องหรือการปฏิบัตินั้นชัดเจนขึ้น
3. เพื่อช่วยอธิบายเนื้อหาวิชาที่ยาก ซึ่งต้องใช้เวลามาก ให้เข้าใจง่ายขึ้นและประหยัดเวลา
4. เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นผลการทดลองที่ผู้เรียนไม่สามารถทดลองเองได้อันเนื่องจากเครื่องมือ อุปกรณ์ไม่พอที่จะให้ผู้เรียนทดลองทุกคนหรือเป็นการทดลองที่มีอันตราย
- องค์ประกอบสำคัญของวิธีการสอนโดยใช้การสาธิต
การสอนโดยใช้การสาธิตนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. มีผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนต้องเตรียมสิ่งที่จะสาธิตให้พร้อมโดยคำนึงถึงการรับรู้โดยการมองเห็นของผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. มีเรื่องหรือสิ่งที่จะสาธิต ผู้สอนอาจเชิญบุคคลภายนอกหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญหรือให้นักเรียนในชั้นเรียนเข้าร่วมในการสาธิตด้วยก็ได้ตามความเหมาะสม
3. มีการแสดง/การทำ/ให้ผู้เรียนสังเกตดู ครูหรือวิทยากรต้องอธิบายประกอบไปตามขั้นตอนโดยไม่รีบเร่งจนเกินไป
4.มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการสาธิต เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการสาธิต
การเตรียมตัวอย่างไร ? การสอนโดยใช้การสาธิต
1.เลือกประเภทของรูปแบบการสอน ศึกษาถึงวิธีการสาธิตและข้อควรระวังเกี่ยวกับการสาธิตแต่ละประเภท เช่น ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสาธิต ผู้เรียนสาธิตเป็นกลุ่ม ผู้สอนสาธิตเป็นรายบุคคล วิทยากรสาธิต โดยการเชิญวิทยากรที่มีความชำนาญมาสาธิต เป็นต้น
2.การวิเคราะห์จำนวนผู้เรียน ผู้เรียนอยู่ในช่วงวัยใด มีสมาธิต่อการเรียนนานเท่าไร ? การจัดกลุ่มผู้เรียนต้องไม่มากเกินไป เช่น 5-7 คน หรือน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการจัดกลุ่มผู้เรียนจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย วิธีการสาธิต สถานที่ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสาธิต
3.ระยะเวลาที่มีอย่างจำกัด แต่ละคนมีเวลาไม่เกินกี่นาที ฉะนั้น การจัดเนื้อหา เรื่องราวที่จะสาธิตเป็นสำคัญหากมีขั้นตอนและเนื้อหามาก การสาธิตก็ต้องใช้เวลานาน จะทำให้คณะกรรมการที่แสดงบทบาทรู้สึก เบื่อ!!
4.ลักษณะเนื้อหาที่เตรียมไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสอน และผู้สอนวิเคราะห์แล้ว การใช้กิจกรรมการสาธิตจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและมีส่วนร่วมมากที่สุด เช่น กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ Active Learning
5.ขั้นตอนในการสอน หัวใจหลักก็คือ 4 หัวข้อดังนี้ 1. ขั้นเตรียมการสอน 2. ขั้นสาธิต 3.ขั้นสรุป (สอบ) 4. ขั้นวัดผล
ดวงเดือน เทศวานิช. หลักการสอนทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: คณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครูพระนคร,2533. ทิศนา แขมณี. (2551).ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จำเนียร ศิลปวานิช. (2538). หลักและวิธีสอน. กรุงเทพมหานคร : เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์.
https://sites.google.com/site/aesummer1234/tawxyang-nwatkrrm?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1
ผู้จัดทำและเรียบเรียง เว็บไซต์ครูไทยฟรีดอทคอม
เชิญติดตามได้ที่ เพจครูไทยฟรีดอทคอม ข่าวสารความเคลื่อนไหววงการศึกษา ข่าวสารการศึกษา แจกสื่อการเรียนการสอน แผนการสอน หลักสูตร ตัวชี้วัด ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน วิจัย วิทยฐานะ การสอบบรรจุรับราชการ สอบบรรจุครู ข้อสอบ ใบงาน กิจกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมการเรียนรู้ สื่อมัลติมีเดียครูยุค IT บทความ เทคนิคการสอน ไฟล์งานต่างๆ