คู่มือ อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษา
ตามหนังสือที่อ้างถึง 1 และ 2 สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการกำหนดจำนวน ตาม คู่มือ อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษา ถึงวิธีการได้มา คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานถือปฎิบัติ นั้น
สำนักงาน ก.ค.ศ. ขอเรียนว่า เพื่อให้การดำเนินการได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ก.ค.ศ. จึงมีมติเห็นชอบคู่มือการดำเนินการได้มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งจัดทำโดยสำนักงาน ก.ค.ศ. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป รายละเอียด
ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 พ.ศ. 2565 มาตรา 9 ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา” และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา” สำหรับแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณีตามพระราชบัญญัตินี้
จำนวนองค์ประกอบ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มา คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดซึ่งองค์ประกอบของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ต้องกำหนดให้มีผู้แทน กศจ. อย่างน้อยหนึ่งคน และนายอำเภอหรือผู้แทนอย่างน้อยหนึ่งคน
***สำหรับกรุงเทพมหานคร ให้มีผู้อำนวยการเขตหรือผู้แทน อย่างน้อยหนึ่งคน ร่วมเป็นองค์ประกอบด้วย
บทความ : อํานาจหน้าที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา