เนื้อหา+ข้อสอบ คณิตศาสตร์ แนวข้อสอบครูผู้ช่วย 64
ใกล้เข้ามาเต็มทีแล้วสำหรับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยทั่วไป สังกัด สพฐ.ประจำปี 2564 ที่ได้เลื่อนการสอบออกไป เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 วันนี้เว็บไซต์ครูไทยฟรีดอทคอมได้นำ เนื้อหา+ข้อสอบ คณิตศาสตร์ แนวข้อสอบครูผู้ช่วย 64 มาฝากสำหรับทุกท่านที่มีความฝันและมีจุดมุ่งหมายที่เดินทางชีวิตข้าราชการครู
ซึ่งตอนนี้เวลาเริ่มใกล้เข้ามากันแล้วสำหรับกำหนดการที่จะเปิดสอบภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป
ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 สอบภาค ข ประสบการณ์ความรู้และมาตรฐานวิชาชีพ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านภาค ก และ ข เพื่อมีสิทธิเข้ารับการประเมินภาค ค วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 สอบภาค ค ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน และสอบสาธิตปฏิบัติการสอน ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่งวิชาชีพและการปฏิบัติงานในสถานศึกษา และประกาศผลสอบแข่งขัน ตามวันเวลา ที่คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) หรือคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) กำหนด
แนวคิดเนื้อหาการคิดวิเคราะห์
การคิดวิเคราะห์, การคิดเชิงวิพากษ์ หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นกระบวนการทางจิตสำนึกเพื่อวิเคราะห์ หรือ ประเมินข้อมูล ในคำแถลง หรือข้อเสนอที่มีผู้แถลงหรืออ้างว่าเป็นความจริง การคิดวิเคราะห์เป็นรูปแบบของกระบวนการที่สะท้อนให้เห็นความหมายของคำแถลง (statement) และการตรวจสอบหลักฐานที่ได้รับการไต่ตรองด้วยเหตุและผล แล้วจึงทำการตัดสินคำแถลงหรือข้อเสนอที่ถูกอ้างว่าเป็นความจริงนั้น
การคิดวิเคราะห์อาจทำได้จากการรวบรวมข้อมูล การสังเกตการณ์ ประสบการณ์ หลักแห่งเหตุและผล หรือการสื่อความ การคิดวิเคราะห์ต้องมีพื้นฐานของคุณค่าเชิงพุทธิปัญญาที่สูงเลยไปจากการเป็นเพียงการแบ่งเนื้อหาที่รวมไปถึง ความกระจ่างชัด ความแม่นยำ ความต้องตรงเนื้อหา หลักฐาน ความครบถ้วนและความยุติธรรม
ความหมายหรือนิยามการคิดวิเคราะห์มีมากมายและหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ไปในแนวเดียวกันคือการใช้เหตุผล หลักฐานและตรรกะมาวิเคราะห์ให้แน่ชัดก่อนลงความเห็นหรือตัดสิน
พระพุทธเจ้าได้ใช้วิธีการสอนที่อาจนับเป็นการคิดวิเคราะห์ที่เรียกว่า “ปุจฉาวิสัชนา” ด้วยการให้พระสงฆ์ใช้ “วิจารณญาน” ถามตอบซักไซ้ไล่เลียงค้านกันไปมาจนได้คำตอบซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการคิดวิเคราะห์ โดยทรงให้หลักแห่งความเชื่อที่ไม่งมงายไว้ในพระสูตรชื่อ กาลามสูตร
ภายใต้กรอบแห่ง “ความน่าสงสัย” (skepticism) กระบวนการคิดวิเคราะห์เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการสืบหาข้อมูลและการประเมินข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปหรือคำตอบที่เชื่อถือได้ การคิดวิเคราะห์ประกอบด้วย “ตรรกะที่ไม่เป็นทางการ” (informal logic) ผลการวิจัยด้านการรับรู้เชิงจิตวิทยา (cognitive psychology) ทำให้นักการศึกษาเริ่มเชื่อมากขึ้นว่าสถาบันการศึกษาทุกแห่งควรเน้นการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์ให้มากขึ้นแทนการสอนให้เรียนรู้แบบท่องจำ
กระบวนการของการคิดวิเคราะห์สามารถตอบสนองประเด็นและสถานการณ์ได้หลาย ๆ อย่างและทำให้เราสามารถสืบเสาะหาสิ่งเชื่อมโยงระหว่างกันได้ด้วย ดังนั้น การคิดวิเคราะห์จึงเป็นตัวสร้างระบบช่องความคิดต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับความรู้เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยาเศรษฐศาสตร์ หลักเหตุผลทางศีลธรรม และปรัชญา
ผู้จัดทำและเรียบเรียง เว็บไซต์ครูไทยฟรีดอทคอม
และขอขอบคุณที่มา มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี
เชิญติดตามได้ที่ เพจครูไทยฟรีดอทคอม ข่าวสารความเคลื่อนไหววงการศึกษา ข่าวสารการศึกษา แจกสื่อการเรียนการสอน แผนการสอน หลักสูตร ตัวชี้วัด ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน วิจัย วิทยฐานะ การสอบบรรจุรับราชการ สอบบรรจุครู ข้อสอบ ใบงาน กิจกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมการเรียนรู้ สื่อมัลติมีเดียครูยุค IT บทความ เทคนิคการสอน ไฟล์งานต่างๆ