หลักการเขียนบรรณานุกรมที่ถูกต้อง
สวัสดีครับ วันนี้ เว็บไซต์ครูไทยฟรีดอทคอม ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้ออ้างอิงและหลักฐานต่างๆ ที่จะนำมาเขียนเรียบเรียงในเรื่อง หลักการเขียนบรรณานุกรมที่ถูกต้อง ให้มากที่สุด เพื่อผู้ใช้งานได้พบบทความนี้อาจจะนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการเขียนเพื่อเป็นการอ้างอิงงานบทความ วิจัย รายงานต่างๆ ที่คุณได้ทำการค้นหาหรือสืบค้น ตามหนังสือ นิตยสารและเว็บไซต์ แล้วนำมาทำงานรายงานหรือแผนวิจัย การนำข้อมูลจากแหล่งเหล่านั้นให้มาทำการอ้างถึง จากนั้นลงมือเขียนบรรณานุกรมเชิงวิชาการขึ้นมา ผู้คนส่วนใหญ่ก็เช่นกัน ต้องการให้มีแหล่งข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 3 แหล่ง ขึ้นไปต่อการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ ถึงจะเกิดความหนักแน่นหรือเกิดความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น อาจจะ จด ถ่ายสำเนา หรือพิมพ์ข้อมูลต่อไปนี้ จากแต่ละแหล่งที่คุณพบและนำมาใช้งาน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ข้อมูลเนื้อหาที่เก็บรวบรวมจากเอกสารแต่ละแหล่ง | ข้อมูลเนื้อหาที่เก็บรวบรวมจากเว็บไซต์แต่ละแห่ง |
– ชื่อผู้แต่ง – ชื่อสิ่งพิมพ์ (และชื่อบทความหากเป็นนิตยสารหรือสารานุกรม) – วันที่พิมพ์ – สถานที่จัดพิมพ์หนังสือ – สำนักพิมพ์หนังสือ – เลขเล่มของนิตยสารหรือสารานุกรมฉบับพิมพ์ – หมายเลขหน้า | – ชื่อผู้แต่งและบรรณาธิการ (ถ้ามี) – ชื่อหน้า (ถ้ามี) – บริษัทหรือองค์กรที่ลงหน้าเว็บ – ที่อยู่เว็บของเพจ (เรียกว่า URL) – วันที่คุณสืบค้น |
ความสําคัญของบรรณานุกรม
1. เพื่อแสดงว่ารายงานหรืองานวิจัย หรือบทความฉบับนั้นเป็นผลงานที่มีคุณภาพ มีสาระน่าเชื่อถือได้
2. เพื่อแสดงว่าผู้เขียนรายงานเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้แต่งหนังสือ ที่ได้นํามาใช้อ้างถึงผลงานของผู้แต่งนั้นๆ
3. เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้ศึกษารายละเอียด หรือข้อเท็จจริงที่นํามาประกอบการเขียนเพิ่มเติมได้อีก
4. เพื่อตรวจสอบหลักฐานอ้างถึงเดิมที่ผู้เขียนนํามาประกอบในรายงาน
หลักทั่วไปในการเขียนบรรณานุกรมที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้
1.การเริ่มต้นเขียนติดริมขอบกระดาษที่ต้องเว้นไว้ประมาณ 1.5 นิ้ว เริ่มจาก ชื่อ ชื่อสกุล. เว้นวรรค ชื่อเรื่อง. เว้นวรรค ครั้งที่พิมพ์. เว้นวรรค เมืองที่พิมพ์ เว้นวรรค : เว้นวรรค ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ (หรือสำนักพิมพ์), เว้นวรรค ปีที่พิมพ์. (หากใน 1 บรรทัดการเขียนเกินให้ทำการเยื้องแขวน ตามรูปแบบ MLA กล่าวคือ บรรทัดแรกของรายการควรอยู่ชิดซ้าย และบรรทัดที่สองและบรรทัดต่อมาควรเยื้อง 1/2″=ครึ่งนิ้ว)
2.การจัดเรียงรายการตามลำดับตัวอักษร ก-ฮ ตัว ฤ,ฤา เรียงไว้หลังอักษร ร และตัว ฦ,ฦา เรียงไว้หลังอักษร ล เช่น ชื่อผู้เขียน ต้องเริ่มจาก กานต์สินี จันทร์จิรา รักชาติ ฤดี ลิขสิทธิ์ ฦชา เช่นต้น
3.สำหรับการเขียนบรรณานุกรมภาษาอังกฤษ ให้เรียงตามลำดับตัวอักษรตั้งแต่ A-Z โดยให้เรียงตามลำดับอักษรแบบคำต่อคำ (word by word) คือ ดูคำแต่ละคำ เช่น ถ้าอักษรตัวแรกเหมือนกัน ก็เรียงตามตัวที่สอง ถ้าตัวที่สองเหมือนกัน ก็เรียงตามตัวที่สาม ไปเรื่อยๆ
4.และการอ้างถึงมีรายการที่นํามาจัดทําบรรณานุกรมมีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้เรียงภาษาไทยก่อนภาษาต่างประเทศ
ผู้จัดทำและเรียบเรียง เว็บไซต์ครูไทยฟรีดอทคอม
และขอขอบคุณที่มา https://teen.mthai.com/
เชิญติดตามได้ที่ เพจครูไทยฟรีดอทคอม ข่าวสารความเคลื่อนไหววงการศึกษา ข่าวสารการศึกษา แจกสื่อการเรียนการสอน แผนการสอน หลักสูตร ตัวชี้วัด ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน วิจัย วิทยฐานะ การสอบบรรจุรับราชการ สอบบรรจุครู ข้อสอบ ใบงาน กิจกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมการเรียนรู้ สื่อมัลติมีเดียครูยุค IT บทความ เทคนิคการสอน ไฟล์งานต่างๆ