รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์
ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 : ว่าที่ร้อยตรี พินิจ สุขใจ พ.ศ.2564
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา (3) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และ (4)ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความจำเป็น โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนและตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด จำนวน 23 คน ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบและพัฒนา
รูปแบบ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาผลการใช้รูปแบบกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนและตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด จำนวน 23 คน
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประกอบด้วย 15 องค์ประกอบ คือ (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (2) ความเป็นเลิศวิชาการ (3) การจัดการเรียนรู้โดยการน้อมนำศาสตร์พระราชา (4) การจัดการเรียนการสอนให้มีความเป็นสากล (5) การพัฒนาสู่ความยั่งยืน (6) 1 คน 1 ผลการปฏิบัติงานเป็นเลศ และ 1 นวัตกรรม (7) การสร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (8) ความสามัคคี (9) ระบบการบริหารจัดการ รูปแบบ ADDIE (10) การบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นแบบมีส่วนร่วม A-I-C (11) การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพ (12) ระบบการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (13) องค์การมีชีวิต (14) การประชาสัมพันธ์ และ (15) ระบบการการวัดและประเมินผล
- ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนและตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด มีความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติเกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วม โดยพบว่า การปฏิบัติการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมที่จำเป็นต้องมีสูงกว่าการปฏิบัติการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมที่มีอยู่จริงในปัจจุบัน
- รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประกอบด้วย (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (Natural of Student) (2) ความเป็นเลิศวิชาการ (Highest Academic) (3) การจัดการเรียนรู้โดยการน้อมนำศาสตร์พระราชา (National of King’s philosophy Policy) (4) การจัดการเรียนการสอนให้มีความเป็นสากล (Universally of Education) (5) การพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Development Stronger Together) (6) 1 คน 1 ผลการปฏิบัติงานเป็นเลศและ 1 นวัตกรรม (1 people 1 practice 1 Innovation) (7) การสร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ (Network on PLC) (8) ความสามัคคี (Unity) (9) ระบบการบริหารจัดการรูปแบบ ADDIE (Management by ADDIE System) (10) การบริหารจัดการสถานศึกษาเป็นแบบมีส่วนร่วม A-I-C (Base Participation on A-I-C) (11) การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพ (Environment in Quality) (12) ระบบการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (RefectionSystem) (13) องค์การมีชีวิต (Organization of Life) (14) การประชาสัมพันธ์ (News)และ (15) ระบบการการวัดและประเมินผล (Evaluation System) หรือ NHNUD1NUMBER ONE ผลการประเมินรูปแบบโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบ ที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้องเหมาะสม เป็นได้ในการปฏิบัติ และเป็นประโยชน์ในระดับมากและมากที่สุด
- ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองนาไฮโนนสะอาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 พบว่า ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับดีมาก
คำสำคัญ (Keywords) : รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมและคุณภาพการศึกษา