พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์คืออะไร
สวัสดีครับท่านผู้อ่าน วันนี้เว็บไซต์ครูไทยดอทคอม ได้มองถึงการบังคับใช้ในปัจจุบันที่อาจเป็นเรื่องใกล้ตัวของเราเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอาชีพที่เราต้องใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์ตลอดเกือบ 24 ชั่วโมงก็ว่าได้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี พ.ศ. 2550 นี้มีเพื่อกำหนดความผิดในการกระทำที่มี“ระบบคอมพิวเตอร์” เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์นี้ เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์วางตัก คอมพิวเตอร์พกพา แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟน รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่น น้ำประปา ธนาคาร ระบบควบคุมไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้งานต่างใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เป็นสิ่งที่แน่ชัดว่าย่อมมีกลุ่มหรือบุคคลที่ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้ในการกระทำความผิด หรือกระทำความผิดผ่านระบบเหล่านี้ เช่น ปั่นป่วนข้อมูลและระบบให้เสียหาย ขโมยข้อมูล การกระทำเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหม่ ทุกๆชั่วโมง ทุกๆนาที ทุกๆวินาที คนจำนวนมากใช้อินเทอร์เน็ตเป็นดังห้องสื่อขนาดใหญ่ ซึ่งทางแอดมินมีความคิดเห็นว่า ทุกวันนี้เราเลี่ยงไม่พ้นระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบตัวเรา และนั่นทำให้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเรามาก โดยอาจทำให้เราทำผิดกฏหมายแบบง่ายๆ เช่น อาจหมิ่นประมาทโดยไม่รู้ตัว ก็คือการแสดงความคิดเห็นในโลกออนไลน์ หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้
พวกเราทุกคน อาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่มากมายในปัจจุบัน ซึ่งบางเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวหรือเจตนา เพื่อเรียนรู้การกับเรื่องพวกนี้ ฉะนั้น พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จึงมีบทบาทออกมาควบคุม ดังเช่นตัวอย่างการสรุปโทษเกี่ยวกับการโพสแสดงความคิดเห็นต่อไปนี้
มาตราที่ | การกระทำ | โทษ |
มาตรา ๑๑ | ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดย ปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข | ปรับไม่เกิน 100,000 บาท |
ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็น การก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย | ปรับไม่เกิน 200,000 บาท | |
มาตรา ๑๔ | (1) ทุจริต หลอกลวง นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบ โดยน่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน | ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ |
(2) นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบ โดยน่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ สาธารณะ เศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือทำให้ประชาชนตื่นตระหนก | ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ | |
(3) นำข้อมูลอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร หรือการก่อการร้ายเข้าสู่ระบบ | ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ | |
(4) นำข้อมูลที่มีลักษณะลามกเข้าสู่ระบบและประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึง | ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ | |
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลโดยรู้อยู่แล้วว่าผิดตาม ๑ ถึง ๔(วรรค ๒) ถ้าการเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลที่ผิดตาม ๑ ถึง ๔ เป็น กระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง | จำคุกไม่เกิน ๓ ปี ปรับไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท | |
มาตรา ๑๖ | นำภาพของผู้อื่นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ | ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปีและ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท |
ภาพนั้นเกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อหรือดัดแปลง และน่าจะทำให้ผู้อื่นเสียหาย | จําคุกไม่เกิน 3 ปีและ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท | |
ภาพนั้นเป็นภาพผู้ตาย และน่าจะทำให้บิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตรเสียหาย | จําคุกไม่เกิน 3 ปีและ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท | |
ถ้าทำโดยสุจริต เป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ไม่มีความผิด | จําคุกไม่เกิน 3 ปีและ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท | |
ความผิดตาม วรรค ๑ วรรค ๒ ยอมความได้ ***ถ้าผู้เสียหายตายก่อนร้องทุกข์ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรร้องทุกข์ได้ |
และสิ่งที่สำคัญในการกำกับดูแลโลกออนไลน์อยู่ด้วย เช่น ประมวลกฎหมายอาญา หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ซึ่งมีความละเอียดอ่อน เช่น
- การเขียนข้อความด่า ประจาน ทำให้คนอื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง โดยโพสต์นั้นปรากฏชื่อ รูปภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวที่ทำให้รู้ว่าคนที่ถูกพาดพิงนั้นเป็นใครเกิดความเสียหาย มีโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
- การลงรูปภาพเด็กหรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวเด็ก อาจจะทำให้เด็กได้รับความเสียหายทั้งทางจิตใจ ชื่อเสียง หรือโพสต์เพื่อประโยชน์ของตัวเอง มีโทษจำคุกสูงสุด 6 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดาวน์โหลด พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)