ตัวอย่างนวัตกรรมการอ่านออกเขียนได้
“นวัตกรรมทางการศึกษา” หมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมสามารถจัดทำได้หลายรูปแบบ เช่น
– แผนการสอน
– ชุดการสอน
– คู่มือครู
– บทเรียนสำเร็จรูป
– สไลด์
– ใบความรู้
– สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ
– เกม
***ทุกรูปแบบต้องมีคู่มือในการใช้สื่อด้วย
สวัสดีครับท่านผู้อ่านและผู้ที่กำลังมองหาเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน เป็นต้น ที่สามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียน ถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความประทับใจที่ยั่งยืน หรือแนวคิดที่จะช่วยให้คุณครูคิดค้นวิธีการสอน ทำให้ห้องเรียนที่แสนธรรมดา กลายเป็นห้องเรียนที่น่าสนใจในสายตานักเรียนมากยิ่งขึ้น
วันนี้กระผม เว็บไซต์ครูไทยฟรีดอทคอม ได้รวบรวม สื่อ นวัตกรรม แก้ไขปัญหาการอ่านออกเขียนได้มาให้เป็นแนวทางสำหรับคุณครูหลายๆท่านที่กำลังจะนำไปใช้กับผู้เรียนให้เกิดผลได้อย่างจริงจัง และสามารถพัฒนาไปเป็นประเด็นท้ายทายในการจัดทำ แบบบันทึกข้อตกลงการพัฒนางานตาม วPA (Performance Agreement :PA) ซึ่งเป็นจุดเน้นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ โดยมีการจัดทำโครงการเพื่อการดำเนินงานจากนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจนของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษารวมทั้งสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นในการพัฒนาด้านการอ่านออกเขียนได้ให้เป็นแนวทางเดียวกัน ในการการเร่งรัดพัฒนาการอ่านการเขียนได้อ่านคล่องเขียนคล่องและสื่อสารได้
ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างวิธีการสอนภาษาไทยจากง่ายไปยากตามขั้นตอนที่ครูจำนวนมากเห็นว่าได้ผลและเป็นพื้นฐานที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นบทความของนายบุญเสริม แก้วพรหม ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 มาเป็นแนวทางให้ อาจจะเป็นอีกวิธีที่ดีที่สุดในการสอนภาษาไทยให้อ่านออกเขียนได้ คือ การสอน สะกดคำ แจกลูก ท่องจำ และไล่หนังสือ และต้องอาศัยการเรียนการสอนแบบ “ฝึก ซ้ำ ย้ำ ทวน”
ลำดับขั้น ในการสอนให้อ่านออกเขียนได้ประกอบด้วย
1. สอนให้รู้จักพยัญชนะ
2.สอนให้รู้จักสระ
3.สอนให้สะกดคำแจกลูกในแม่ ก กา
4. สอนให้ผันวรรณยุกต์คำในแม่ ก กา
5. สอนให้อ่านเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
6. สอนให้ผันวรรณยุกต์คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
7. สอนให้อ่านเขียนคำที่สะกดไม่ตรงมาตรา
8. สอนให้อ่านเขียนคำควบกล้ำ
9. สอนให้อ่านเขียนคำที่มีอักษรนำ
10. สอนให้อ่านเขียนคำที่มีตัวการันต์ ฤ ฤา ฦ ฦา และคำที่มีลักษณะพิเศษ
และอีก 1 แนวทาง ตัวอย่างนวัตกรรมการอ่านออกเขียนได้ เพื่อพัฒนาให้อ่านคล่องเขียนคล่อง ด้วยการฝึกการอ่านเขียนมีครูกำกับโดยให้แบบฝึกทักษะและวิธีการสอน ในที่นี้ ขอเสนอเกณฑ์การอ่านคล่องเขียนคล่อง โดย นางนงเยาว์ แข่งเพ็ญแข ข้าราชการบำนาญ อดีตนักวิชาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ อาจใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานพัฒนาการอ่านคล่องเขียนคล่อง ดังนี้
เกณฑ์การอ่านคล่อง – เขียนคล่อง เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบพัฒนาทักษะภาษาไทยที่ผู้เขียนสร้างขึ้นเอง รูปแบบการพัฒนาได้กำหนดทักษะภาษาที่จะต้องสอนแต่ละชั้นได้แล้ว จึงจัดทำเกณฑ์วัดความสามารถในการอ่านด้วยเพื่อใช้ประเมินความสามารถในการอ่านและตามรูปแบบการพัฒนาทักษะภาษาดังกล่าว วิธีวินิจฉัยความสามารถในการอ่านก่อนดำเนินการวินิจฉัยความสามารถในการอ่านครูควรเข้าใจคำ 2 คำ คือการอ่านออกเสียงและเครื่องมือวินิจฉัยความสามารถในการอ่าน
1. ใช้การอ่านออกเสียงเป็นเครื่องมือในการวินิจฉัย เนื่องจากการอ่านออกเสียงเป็นหน้าต่างเปิดไปสู่ความเข้าใจกระบวนการอ่านดังนั้นในการวินิจฉัยความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาจึงใช้การอ่านออกเสียง
2. เครื่องมือในการวินิจฉัยการอ่านจะมี 2 ชนิดคือ
1) แบบทดสอบมาตรฐานเพื่อวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อการวิจัยเท่านั้น
2) แบบทดสอบการอ่านที่ครูทำขึ้นเป็นแบบทดสอบที่ครูคิดทำขึ้นเองซึ่งการวินิจฉัยการอ่านคล่องในที่นี้เสนอให้ผู้บริหารทำแบบทดสอบเองซึ่งอาจทำได้ 2 รูปแบบคือแบบสำรวจการอ่านและแบบสำรวจข้อผิดพลาดในการอ่านซึ่งทั้งสองประการนี้สามารถดำเนินการไปพร้อมๆกันได้ ตัวอย่างนวัตกรรมการอ่านออกเขียนได้